ความหมายและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

คอมพิวเตอร์กับงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

ความร่วมมือระหว่างสถาบันสารสนเทศในด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

 

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ  


           โดยทั่วไป ทรัพยากรสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ วัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

           1. วัสดุตีพิมพ์ (printed materials) คือ วัสดุที่ใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมายและพิมพ์ด้วยระบบการพิมพ์ต่าง ๆ จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่เป็นเนื้อหาต่าง ๆ ตามลำดับแหล่งที่เกิดได้เป็น 3 ประเภทคือ สิ่งพิมพ์ปฐมภูมิ สิ่งพิมพ์ทุติยภูมิ และสิ่งพิมพ์ตติยภูมิ

                   สิ่งพิมพ์ปฐมภูมิ (primary sources) เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นความคิดริเริ่ม เป็นความรู้ใหม่ เป็นสิ่งพิมพ์ที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่

                    1. วารสารและวารสารวิจัย (periodicals)
                    2. สิ่งพิมพ์ของสถาบัน (institutional publications) เช่น สิ่งพิมพ์รัฐบาล
                    3. สิทธิบัตร (patents)
                    4. เอกสารสิทธิบัตร(patents literature)
                    5. วิทยานิพนธ์ (dissertations / thesis)
                    6. รายงานการวิจัย รายงานเชิงวิชาการ (research reports, technical reports)
                    7 .รายงานการประชุมทางวิชาการหรือเอกสารประชุม (conference proceedings / symposia)
                    8. เอกสารมาตรฐาน (standards)
                    9. สิ่งพิมพ์ทางการค้าหรือวรรณกรรมการค้า (trade literature)
                    10. หนังสือพิมพ์ (newspapers)
                    11. จดหมายเหตุ (archives)
                    12. จุลสาร (pamphlet)
                    13. ต้นฉบับตัวเขียน (manuscript)

                   สิ่งพิมพ์ทุติยภูมิ (secondary sources) คือ สิ่งพิมพ์ที่เรียบเรียงขึ้นใหม่จากข้อมูลปฐมภูมิโดยรวบรวมจัดระบบอย่างมีแบบแผนเพื่อสะดวกต่อการค้นคว้าและอ้างอิง ได้แก่

                    1. วารสารปริทัศน์ (review periodicals)
                    2. ดรรชนี (indexes)
                    3. สาระสังเขป (abstracts)
                    4. บรรณานุกรม (bibliographies)
                    5. สารานุกรม(encyclopedias)
                    6. พจนานุกรม (dictionary)
                    7. คู่มือ (handbooks, manual)
                    8. รายชื่องานวิจัยความก้าวหน้า (research in progress)
                    9. หนังสือตำรา(textbook)
                    10. งานแปล (translations)

                   สิ่งพิมพ์ตติยภูมิ (tertiary sources) คือ สิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือเป็นคู่มือสำหรับใช้กับวรรณกรรมสาขาวิชาต่าง ๆ หรือหาความรู้ทั่วไป ได้แก่

                    1. คู่มือแนะนำวรรณกรรม (guide to the literature)
                    2. อักขรานุกรมชีวประวัติ (biographical dictionaries)
                    3. หนังสือรายปี(yearbooks)
                    4. นามานุกรม หรือ ทำเนียบนาม (directories)
                

                2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ หมายถึง โสตทัศนวัสดุ และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ได้แก่

                    1. แผนที่และหนังสือแผนที่ (maps and atlas)
                    2. วัสดุย่อส่วน
                    3. โสตวัสดุ
                    4. ทัศนวัสดุ

           3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากความก้าวหน้าของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลตติยภูมิ ถูกนำมาบันทึกและจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล (database) ซึ่งจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศในรูปแบบใด (ข้อมูล ตัวอักษร หรือภาพ) ทั้งที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารต่าง ๆ ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการสืบค้นได้รวดเร็วและกว้างขวางกว่าในรูปแบบเดิม ได้แก่

                    1. ฐานข้อมูลออนไลน์ หรือ On-line searching
                    2. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
                           - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
                           - วารสารอิเล็กทรอนิกส์
                           - หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
                           - วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
                           - แหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
                    3. ฐานข้อมูล CD-Roms 

            ทรัพยากรสารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญของแหล่งสารสนเทศ เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศทำให้แหล่งสารสนเทศทำหน้าที่อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นงานเทคนิค งานบริการ และงานบริหาร เพราะหากสถานที่นั้นไม่มีทรัพยากรสารสนเทศ งานอื่น ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำ การที่แหล่งสารสนเทศสามารถให้บริการได้ดีและมีประสิทธิภาพ ต้องมีรากฐานมาจากการรวบรวมสารสนเทศทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ จึงจะสามารถให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ อันนำไปสู่การพัฒนาทั้งตนเองและสังคม