การแลกเปลี่ยนเป็นวิธีการจัดหาทรัพยากรส ารสนเทศที่ประหยัดงบประมาณหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยอีก วิธีการหนึ่ง
และในขณะเดียวกันก็เป็นการลดปริมาณทรัพยากรสารสนเทศที่มีมากจนเกินความจำเป็น และไม่ได้ใช้ ประโยชน์ด้วย
ทรัพยากรสารสนเทศที่ควรนำมาแลกเปลี่ยน
1. ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และนโยบายการจัดหาของห้องสมุด
2. ทรัพยากรสารสนเทศที่สถาบันผลิตเอง
3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีซ้ำกันมากจนเกินไป
วิธีการแลกเปลี่ยน
ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแลกเปลี่ยนโดยตรงระหว่างห้องสมุด
2 แห่ง
2. การแลกเปลี่ยนโดยผ่านศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน เช่น ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสิ่งพิมพ์แห่งชาติ
ของแต่ละประเทศ เช่น The Library of Congress, International
Exchange Service (ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนระดับนานาชาติ)
หรือ
ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (NLDC-SEA
consortium)
วิธีดำเนินการแลกเปลี่ยน
1. จัดทำรายชื่อเอกสารที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับสถาบันอื่น
2. แจ้งให้สถาบันอื่นทราบว่ามีอะไรจะให้เป็นการแลกเปลี่ยนบ้าง
โดยการจัดส่งรายชื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนให้และขอรายชื่อสิ่งพิมพ์ของสถาบันอื่นที่ต้องการและเปลี่ยน
3. หากมีศูนย์กลาง
เช่น
กลุ่มห้องสมุดที่ร่วมมือกันในการดำเนินงานด้านจัดหาทุกห้องสมุดที่อยู่ในโครงการอาจทำรายชื่อสิ่งพิมพ์ที่
ต้องการแลกเปลี่ยนส่งให้ศูนย์กลางเพื่อทำการติดต่อกับห้องสมุดในโครงการ
เกณฑ์การแลกเปลี่ยน
1. แบบชิ้นต่อชิ้น
(piece-for-piece) หรือเล่มต่อเล่ม
2. แบบชื่อเรื่องต่อชื่อเรื่อง
(title-for-title) ใช้กับการแลกเปลี่ยนวารสาร
3. แบบราคาต่อราคา
(value-for-value) ใช้กับการแลกเปลี่ยนหนังสือหายาก
4. แบบการส่งงวดต่องวด
(lot-for-lot) ถือตามจำนวนครั้งที่ส่ง
5.
แบบจำนวนหน้าต่อจำนวนหน้า (page-for-page)
|