มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 คณะมนุษยศาสตร์
 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
 ติดต่อผู้จัดทำ



ความหมายและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คอมพิวเตอร์กับงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ความร่วมมือระหว่างสถาบันสารสนเทศในด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย

 
         ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจะให้บริการเฉพาะนักศึกษา นิสิต และอาจารย์ของสถาบันศึกษานั้นๆ ผู้ใช้ห้องสมุดไม่แตกต่างกันมากนักเรื่องพื้นความรู้ และประสงค์จะใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษาตามหลักสูตรเช่นกัน นิสิต นักศึกษาบางคนจะมีความสนใจเป็นส่วนตัว มีสติปัญญาแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่มีความต้องการร่วมเป็นส่วนใหญ่ คือการศึกษาวิชาต่างๆ

           ในมหาวิทยาลัย ผู้ใช้ห้องสมุดแตกต่างกับวิทยาลัยอยู่บ้างตรงที่ว่า มหาวิทยาลัยย่อมประกอบด้วยคณะวิชาต่างๆและมหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ในการค้นคว้าและทำการวิจัยด้วย ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ผู้ใช้ห้องสมุดจะมีทั้งนิสิตที่ศึกษาสำหรับชั้นปริญญาตรี และนิสิตที่ศึกษาระดับปริญญาโท และนิสิตที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก นอกจากนิสิตนักศึกษาแล้วผู้ใช้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็มีอาจารย์ซึ่งทำการสอนและทำการวิจัยในวิชาต่างๆ

            ห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดให้บริการแก่บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยด้วย แต่โดยปกติผู้ซึ่งจะใช้ห้องสมุดวิทยาลัย ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นความรู้พอที่จะอ่านหนังสือในห้องสมุดมหาวิทยาลัย แต่ในการจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด มิได้คำนึงถึงบุคคล เหล่านี้เป็นเกณฑ์ คำนึงถึงเฉพาะนิสิตและอาจารย์เท่านั้น

           ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยควรจัดไว้บริการมีดังนี้

                - หนังสือ นิตยสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆและโสตทัศนวัสดุ ซึ่งจำเป็นแก่การสอน การเรียนตามหลักสูตร

                - หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ ซึ่งช่วยให้อาจารย์มีความรู้ก้าวหน้าทันสมัยเสมอ

                - หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ ซึ่งใช้สำหรับการค้นคว้าวิจัยตามความต้องการของอาจารย์ นิสิตหรือนักศึกษา

                - หนังสืออ้างอิงทั่ว ได้แก่

                    1. วารสารปริทัศน์ (review periodicals)
                    2. ดรรชนี (indexes)
                    3. สาระสังเขป (abstracts)
                    4. บรรณานุกรม (bibliogrphies)
                    5. สารานุกรม(encyclopedias)
                    6. พจนานุกรม (dictionary)
                    7. คู่มือ (handbooks, manual)
                 
               - หนังสือสำหรับความเพลิดเพลิน ให้ความจรรโลงใจ เช่น หนังสือวรรณคดี นวนิยาย หนังสือท่องเที่ยว ชีวประวัติ
ข้อคิดเกี่ยวกับศีลธรรม เป็นต้น

                - โสตทัศนวัสดุ เช่น แผนที่ ฟิล์มประเภทต่างๆ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ ฟิล์มสตริฟ ไมโครฟิล์ม แผ่นเสียง เทปอัดเสียง ภาพ ฯลฯ

           ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใหญ่บางแห่งรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับประเทศรัฐ หรือเมืองที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่โดยเฉพาะอีกด้วย

           การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการในห้องสมุดมหาวิทยาลัยและห้องสมุดวิทยาลัยควรจะศึกษาจาก
มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศไว้

Link ห้องสมุดสถาบันการศึกษา

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยสยาม
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี(TIAC)
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯพระนครเหนือ
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย(AIT)
  •  

  • มหาวิทยาลัยเกษตร
  •