มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 คณะมนุษยศาสตร์
 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
 ติดต่อผู้จัดทำ



ความหมายและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คอมพิวเตอร์กับงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ความร่วมมือระหว่างสถาบันสารสนเทศในด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดซื้อจัดหาด้วยคอมพิวเตอร์


                จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ห้องสมุดขนาดใหญ่ในประเทศไทยต่างก็มีโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานด้านการจัดซื้อจัดหาของแต่ละห้องสมุด เช่น โปรแกรมสำเร็จรูป INNOPAC ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งมีความสามารถในการนำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อที่บันทึกในฐานข้อมูลมาทำรายงาน และสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน ตรวจสอบความถูกต้องของรายการสั่งซื้อ รายการรับบริจาค และรายการแลกเปลี่ยน เพื่อรวบรวมทำสถิติรายเดือน สถิติรายปี เป็นต้น การนำโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆมาใช้นั้น เพื่อทำให้งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินงานคัดเลือก จัดซื้อจัดหา แลกเปลี่ยนและขอรับบริจาค ตลอดจนการทำรายงาน การรวบรวมสถิติการทำงาน และการควบคุมงบประมาณ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว

การเตรียมข้อมูลเพื่อการสั่งซื้อในระบบ INNOPAC

ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม

การจัดเตรียมข้อมูลในส่วนของการสั่งซื้อ (Order) ต้องเตรียมแฟ้ม (File) ต่าง ๆ ดังนี้

                1. แฟ้มข้อมูลของร้านค้า (Vender File) เป็นรายละเอียดของร้านค้าที่ติดต่อด้วยสม่ำเสมอ ทั้งร้านค้าในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย ชื่อร้านค้า ชื่อย่อของร้านค้าที่กำหนดให้เอง ที่อยู่ของร้านค้า หากมีสาขาลงบันทึกไว้มากกว่า 1 แห่ง ระบุบุคคลที่ติดต่อ ตำแหน่ง หมายเลขรหัสร้านค้า หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร อี –เมล์ สกุลเงินที่ใช้จ่ายให้ร้านค้า อัตราส่วนลดกี่เปอร์เซ็นต์ รายละเอียดการทวง กำหนดการทวง การยกเลิกการสั่งซื้อกับร้านค้า

                2. แฟ้มข้อมูลการเงิน (Fund File) ประกอบด้วยรายงานการเงิน ระบุจำนวนเงินที่กำหนดไว้เพื่อการซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เป็น หนังสือ โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กำหนดเป็นจำนวนเงินไว้ชัดเจน กำหนดรหัส กับประเภทของเงิน เช่น เงินงบประมาณแผ่นดิน เงินรายได้ เงินบริจาคอื่น ๆ สามารถกำหนดจำนวนเงินเพื่อจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศเป็นแต่ละประเภทหรือ Collection ได้ เช่น เป็นตำราพื้นฐาน หนังสืออ้างอิงเฉพาะสาขา หนังสืออ้างอิงทั่วไป ข้อมูลท้องถิ่น ตลอดจนโสตทัศนวัสดุและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแฟ้มข้อมูลการเงินจะมีการทำบัญชีการเงิน การตัดบัญชีการเงิน การแจ้งยอดเงินคงเหลือ เงินค้างชำระ ระบบจะทำรายงานการเงินให้ทุกครั้งที่มีการเบิกเงินชำรา

                3. แฟ้มข้อมูลอัตราสกุลเงิน (Currency) เป็นอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่างประเทศ ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้ สัญลักษณ์ อักษรย่อ บ่งบอกสกุลเงิน เช่น ps หมายถึง Pond sterling แทนการใช้สัญลักษณ์ ? พร้อมระบุอัตราการแลกเปลี่ยนต่อเงิน 1 หน่วย คิดเป็นเงินบาทเท่าใด

               4. แฟ้มข้อมูลระเบียนแต่ละรายการ (Copy File หรือ Item file) เป็นรายระเอียดของทรัพยากรสารสนเทศ 1 รายการ สามารถระบุประเภทหรือ Collection ของทรัพยากรได้

               5. แฟ้มข้อมูลการทวงและติดตามทรัพยากรสารสนเทศ โดยกำหนดระยะเวลาการทวงเป็นระยะเวลานานเท่าใด ทวงกี่ครั้งต่อปี เป็นต้น