มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 คณะมนุษยศาสตร์
 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
 ติดต่อผู้จัดทำ



ความหมายและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คอมพิวเตอร์กับงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ความร่วมมือระหว่างสถาบันสารสนเทศในด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

การศึกษาผู้ใช้


               การศึกษาผู้ใช้ เป็นการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ โดยนำข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ไปกำหนดนโยบายการพัฒนาและปรับปรุงการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ทำให้ทราบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรสารสนเทศชนิดใด มีความต้องการอะไรเพิ่มเติม และความต้องการนั้นอยู่ในระดับใด ข้อมูลที่ได้มานั้นจะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศของบรรณารักษ์ว่าได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ อย่างไร

ผู้ใช้ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย มี 3 ประเภท คือ

           1. ผู้ใช้สารสนเทศ คือผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญและมีความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อหาคำตอบหรือเพื่อประกอบการตัดสินใจหรือวางแผนงาน การใช้สารสนเทศจะมีความต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

           2. ผู้ที่อาจจะใช้สารสนเทศ คือผู้ที่รู้และเข้าใจความสำคัญของสารสนเทศแต่ยังไม่มีความจำเป็นหรือความต้องการใช้สารสนเทศในขณะนั้น และจะใช้สารสนเทศหากมีผู้ชี้นำหรือเชิญชวน

           3. ผู้ที่ไม่ใช้สารสนเทศ คือผู้ที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญ หรือขาดการชี้นำให้เห็นคุณค่าของสารสนเทศ หรือเห็นว่าไม่มีสารสนเทศที่ตนเองต้องการเลย หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสถาบันสารสนเทศ จึงไม่ใช้สารสนเทศ

                วิธีการศึกษาผู้ใช้ มีวิธีการศึกษาได้หลายลักษณะ ได้แก่

           1. การศึกษาจากสถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เช่น สถิติการยืม   
แยกตามจำนวนผู้ยืม ระดับการศึกษาของผู้ยืม วัย อาชีพ ประเภทของทรัพยากร สาขาวิชาของทรัพยากร และสถิติการยืมระหว่างห้องสมุด

           2. การศึกษาจากการอ้างอิงในงานเขียนของผู้ใช้ เช่น กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นแพทย์
ศึกษาจากรายการอ้างอิงในงานเขียน งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ จะทำให้ทราบว่า ผู้ใช้กลุ่มที่เป็นแพทย์นี้ใช้เอกสารประเภทใด รูปแบบใด

          3.การศึกษาจากเอกสารหรืองานเขียนที่มีการรายงานไว้เช่นข้อมูลประชากร
จากสำมะโนประชากร ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา คณะสาขาวิชาหลักสูตรที่มี
การเรียนการสอน

          4.การศึกษากลุ่มผู้ใช้โดยใช้แบบสอบถามหรือสัมภาษณ์เป็นการทำตามกระบวน
การวิจัยซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำเนื่องจากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยตรงในการกำหนด
นโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

               ตัวอย่างการศึกษาผู้ใช้ โดยใช้แบบสอบถาม